Last updated: 16 ต.ค. 2567 | 70 จำนวนผู้เข้าชม |
รู้หรือไม่? การพิมพ์ดิจิตอลส่งผลสำคัญต่ออุตสาหกรรมการพิมพ์อย่างไร
การพิมพ์ดิจิตอล(Digital Printing) คือ กระบวนการที่ถ่ายโอนข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปยังวัสดุที่ใช้ในการพิมพ์โดยตรง โดยไม่ใช้แม่พิมพ์ (Plate) การพิมพ์ชนิดนี้สามารถปรับเปลี่ยนงานพิมพ์กล่องได้อย่างรวดเร็ว และมีความยืดหยุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย ซึ่งการพิมพ์ดิจิตอลเริ่มต้นขึ้นในปี 1960s แต่ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากมีความซับซ้อน และมีต้นทุนสูง ต่อมาจึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิตอลในปี 1990s ทำให้การพิมพ์ดิจิตอลเริ่มได้รับความสนใจ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการพิมพ์ และต้นทุนในการผลิต ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการการผลิต การจัดเก็บสินค้า และการผลิตสิ่งพิมพ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ในอุตสาหกรรมการพิมพ์
ความสำคัญของการพิมพ์ดิจิตอลในอุตสาหกรรมการพิมพ์
การพิมพ์ดิจิตอลให้การผลิตที่มีความรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนการเตรียมพิมพ์ที่ซับซ้อน ทำให้เหมาะสำหรับการผลิตจำนวนน้อยที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำ และงานที่ต้องการความเร่งด่วน เพราะไม่จำเป็นต้องสร้างแม่พิมพ์ (Plate) มาใช้ในกระบวนการพิมพ์ประเภทนี้ ซึ่งการพิมพ์ดิจิตอลยังสามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลหรืองานออกแบบได้ง่าย จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับโรงพิมพ์กล่อง หรือธุรกิจขนาดเล็กและกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการเฉพาะ อีกทั้งยังมีความสามารถในการพิมพ์ข้อมูลตัวแปร(Variable Data Printing)เหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ต้องการข้อมูลที่มีความแตกต่างกันในแต่ละหน้า มักใช้สำหรับทำการตลาดที่มีการแข่งขันสูงในอุตสาหกรรมการพิมพ์
ข้อจำกัดของการพิมพ์ดิจิตอล
มีข้อจำกัดในเรื่องของสี และวัสดุ เนื่องจากการพิมพ์ดิจิตอลอาจไม่สามารถสร้างสีที่มีความละเอียดหรือแม่นยำเท่ากับการพิมพ์ประเภทอื่น ต้นทุนต่อหน่วยสูงสำหรับการพิมพ์ในปริมาณมาก และคุณภาพการพิมพ์ไม่สูงเท่ากับการพิมพ์ออฟเซต โดยเฉพาะในกรณีที่มีการพิมพ์สีที่ซับซ้อน และต้องมีการปรับแต่งซอฟแวร์หรือฮาร์ดแวร์เพื่อรองรับงานพิมที่มีความเฉพาะเจาะจง อีกทั้งการพิมพ์ดิจิตอลในบางครั้งอาจไม่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในบางกรณี แต่การพิมพ์ดิจิตอลยังคงเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญ และมีศักยภาพในอุตสาหกรรมการพิมพ์เป็นอย่างยิ่ง
เทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิตอลในอุตสาหกรรมการพิมพ์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
เทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิตอลในอุตสาหกรรมการพิมพ์ มี 2 ประเภท ประกอบด้วย เทคโนโลยีการพิมพ์อิเล็กโทรโตกราฟี(Electrophotography) และเทคโนโลยีการพิมพ์พ่นหมึก (Inkjet printing technology)
1. เทคโนโลยีอิเล็กโทรโตกราฟี (Electrophotography) :
หรือบางครั้งเรียกว่า laser printing มีหลักการพิมพ์โดยการใช้แสงในการสร้างภาพบนสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ดิจิตอลจะถูกส่งไปประมวลผลผ่านโปรแกรม RIP Software (Raster image processing software) คือ ซอฟต์แวร์ที่ใชในการประมวลผลภาพกราฟิกแบบบิทเมพ(Bitmap Graphics)ซึ่งมีโครงสร้างมาจากการจัดเรียงจุดสี (Pixels)ต่อเนื่องกันจนมองเห็นเป็นรูปภาพ และพิมพ์ลงบนกระดาษ โดยไม่ต้องใช้แม่พิมพ์ในการสร้างภาพ เทคโนโลยีการ พิมพ์อิเล็กโทรโตกราฟีนี้เป็นที่รู้จักกันในอุตสาหกรรมการพิมพ์ทั่วๆไป
2. เทคโนโลยีการพิมพ์พ่นหมึก (Inkjet printing technology) :
เป็นกระบวนการที่ใช้หัวพิมพ์พ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆลงบนสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นกระดาษ หัวหมึกมักจะใช้ความร้อนและความถี่ในการสร้างแรงดันให้หมึกพิมพ์ถูกดันออกมาจากหัวพิมพ์ และตกลงบนกระดาษในรูปแบบการหยด การหยดของหมึกพิมพ์เหล่านี้จะถูกควบคุมในขนาดที่ถูกต้อง เพื่อสร้างภาพหรือข้อความ หลังจากที่หมึกถูกพ่นออกมาแล้ว หมึกจะแห้งเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดคราบ ภาพที่ถูกสร้างในการพิมพ์แบบพ่นหมึกนี้ จะมีความคมชัดและมีสีที่แม่นยำ ทำให้เป็นที่นิยมย่างยิ่งสำหรับงานพิมพ์กล่องที่ต้องการความละเอียด และคุณภาพสูง
การพิมพ์ดิจิตอลใช้กับงานพิมพ์อะไรบ้าง
24 ส.ค. 2567
24 ส.ค. 2567
10 มิ.ย. 2564
24 ส.ค. 2567