Last updated: 16 ต.ค. 2567 | 242 จำนวนผู้เข้าชม |
สิ่งที่ควรระวังในการเตรียมไฟล์งานสำหรับการผลิตกล่อง
การเตรียมไฟล์งานสำหรับการผลิตกล่องเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตกล่อง หากไม่มีการเตรียมไฟล์งานก่อนสั่งพิมพ์กล่อง อาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดและเสียเวลาหรือเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตซ้ำ ดังนั้นควรระวังและปฏิบัติตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้
ขั้นตอนและข้อแนะนำ
1. เลือกไฟล์ที่เหมาะสม
เช่น AI, EPS หรือ PDF เนื่องจากไฟล์เหล่านี้สามารถปรับขนาดได้โดยไม่ทำให้คุณภาพงานพิมพ์เสียหาย
2. ตรวจสอบเส้นพับและเส้น Die-cut
การออกแบบกล่องมักจะมีเส้นพับ และเส้น Die-cut ที่ซับซ้อน ดังนั้นควรเขียนกำกับไว้ว่าเส้นพับคือเส้นสีเขียว เส้น Die-cut คือเส้นสีแดง และแนบไฟล์ตัวอย่างเส้นพับ และเส้น Die-cut เพื่อความชัดเจน
3. การตรวจสอบสี
ตรวจสอบว่ามีการใช้สี CMYK แทนการใช้สี RGB ในส่วนของการใช้สเปกตรัมสี CMYK จะใช้สำหรับการพิมพ์ 4 สี และ Pantone ใช้สำหรับการพิมพ์สีพิเศษ
4. ตรวจสอบฟอนต์(Fonts)
ฟอนต์ที่ใช้ในไฟล์ควรจะต้องมีการ Create Outline ก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับฟอนต์ แต่เมื่อทำการ Create ฟอนต์แล้ว จะไม่สามารถแก้ไขฟอนต์ได้อีก จึงต้องมีการตรวจสอบคำผิดก่อนทำการ Create ฟอนต์
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีการ Create ฟอนต์ คลิ๊กที่นี่
5. ลิงค์ไฟล์รูปภาพหรือฝังรูปภาพ
การลิงค์รูปเพื่อทำเพื่อป้องกันการเปิดไฟล์งานแล้วภาพสูญหาย เนื่องจากไม่ได้แนบไฟล์รูปภาพไปให้ด้วย แต่หากทำการลิงค์ไฟล์รูปภาพปัญหาภาพสูญหายจะไม่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่นักออกแบบกล่องจะฝังไฟล์รูปภาพไปในไฟล์งานเลย
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การฝังรูปภาพ คลิ๊กที่นี่
6. ตรวจสอบการจัดวางเนื้อหา
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมดบนกล่อง ไม่ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ หรือ logo เช่น จัดวางให้ logo มีความโดดเด่น และจัดวางข้อความต่างๆให้อยู่ตรงกึ่งกลางไม่ดูลกจนเกินไป
7. Margin&Bleed(ระยะขอบ&ระยะตัดตก)
ให้แน่ใจว่าไฟล์ของคุณมีการตั้งค่า Marginและ Bleed ที่เหมาะสม โดยMargin(ระยะขอบ)ควรจัดวางข้อความ และรูปภาพให้อยู่ในพื้นที่ Safe zone คือจะอยู่ภายในArtboard เข้ามา 3 มม. ส่วนBleed(ระยะตัดตก) สร้างขึ้นเพื่อเผื่อพื้นหลัง(Background)ให้ใหญ่กว่า Artboard ประมาณ 3 มม. เพื่อป้องกันการตัดเกินหรือมีความคลาดเคลื่อนในกระบวนการตัดขึ้นรูป
8. บันทึกไฟล์ที่ต้องการ
เมื่อทำการตรวจสอบทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ทำการบันทึกไฟล์ในรูปแบบที่โรงพิมพ์กล่องต้องการ และจัดส่งในรูปแบบที่ถูกต้อง
ข้อควรระวัง!
ตั้งระยะขอบ (bleed) อย่างน้อย 3 มม. เพื่อหลีกเลี่ยงการวางข้อความหรือภาพที่สำคัญไว้ใกล้ขอบเกินไป และป้องกันการตกขอบเวลาที่ทำการตัด ตรวจสอบไฟล์ภาพต้นฉบับว่ามีความละเอียดที่เหมาะสม (300 dpi หรือมากกว่า) ก่อนทำการสั่งพิมพ์กล่องจริงเพื่อลดข้อผิดพลาดในการผลิต ควรแปลงตัวอักษรทั้งหมดเป็นรูปภาพเพื่อป้องกันปัญหาเรื่องฟอนต์ ข้อควรระวังทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งสำคัญในการรับประกันว่าการผลิตกล่องจะสำเร็จตามที่คาดหวังและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการผลิตกล่อง
ไฟล์งานออกแบบกล่องที่ต้องส่งให้โรงพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์
การส่งไฟล์งานให้โรงพิมพ์กล่องมักต้องการรูปแบบไฟล์ที่เหมาะสมกับการผลิต และมีคุณภาพที่สูง โดยส่วนมากไฟล์งานที่มักถูกส่งให้กับโรงพิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ มีดังนี้
รูปแบบไฟล์ถูกพัฒนาโดย Adobe Systems เพื่อสร้างไฟล์งานในรูปแบบมาตรฐานที่สามารถเปิดดูและแสดงผลได้คงที่บนหลายแพลตฟอร์มหรืออุปกรณ์ต่างๆ โดยไม่สูญเสียคุณภาพหรือการจัดรูปแบบเดิมของไฟล์งาน ด้วยความปลอดภัยและความยืดหยุ่นในการแก้ไข รวมถึงความสามารถในการบีบอัดข้อมูลไฟล์เพื่อประหยัดพื้นที่ ไฟล์ PDF ยังได้รับการยอมรับและใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกภาคส่วน
ทั้งสองรูปแบบเป็นไฟล์ออกแบบกราฟิกเวกเตอร์ยอดนิยม สามารถจัดเก็บข้อมูลกราฟิกเวกเตอร์ ข้อความ และภาพที่มีความละเอียดสูงขนาดพิกเซล(Pixels) มีความสามารถในการรักษาคุณภาพงานออกแบบ ทำให้สามารถขยายหรือย่อขนาดได้โดยไม่สูญเสียความคมชัด นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกเป็นรูปแบบ CMYK ที่เหมาะสมกับการพิมพ์กล่อง และยังเป็นที่ยอมรับในหลายๆ ธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจด้านการพิมพ์และการออกแบบกราฟิก
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเตรียมไฟล์งานก่อนส่งให้โรงพิมพ์
การเตรียมไฟล์งานอย่างถูกต้อง จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำ ละเอียด คมชัด ลดเวลาและต้นทุนที่ไม่จำเป็นในการตรวจสอบหรือการแก้ไขในขณะทำการผลิตกล่อง ทำให้ขั้นตอนการผลิตมีความรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะทำการผลิตกล่อง เช่น การตัดหรือการพับที่ไม่ตรงตามเส้นที่สร้างขึ้น การแปลงสีที่ไม่ถูกต้อง
24 ส.ค. 2567
24 ส.ค. 2567
24 ส.ค. 2567
10 มิ.ย. 2564